top of page
website images-3.png
การเข้าถึงการศึกษา
Bangkok Scholarship Program for Migrant and Thai Children

ในทางทฤษฎี ประเทศไทยให้การศึกษาฟรีถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อย่างไรก็ตาม สำหรับครอบครัวที่ยากจน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าชุดเครื่องแบบนักเรียนที่บังคับ ค่าอาหาร และค่ากิจกรรมนอกหลักสูตรล้วนมีส่วนทำให้เด็กหลายคนหมดโอกาสทางการศึกษาหรือต้องออกจากโรงเรียนหลังจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทย ส่งผลให้พวกเขาสามารถหางานได้เพียงเฉพาะกลุ่มงานที่มีรายได้น้อยตามมา เด็กเหล่านี้ที่ไม่ได้จบการศึกษาชั้นมัธยมปลายมักจะเติบโตขึ้นมาแบบที่มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จต่ำมาก ทั้งยังต้องเผชิญความเสี่ยงต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบมากขึ้น 


ปัจจุบันมูลนิธิสร้างสรรค์ชีวิต ได้มอบทุนการศึกษา คำปรึกษา และทรัพยากรที่จำเป็นแก่นักเรียนเป็นจำนวน 22 คนแล้วในกรุงเทพฯ

How is this making a difference?

โครงการทุนการศึกษาเพื่อเด็กชาวเขาภาคเหนือ

ในบรรดาชาวเขา การแต่งงานและการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรถือเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่ครอบครัว เนื่องจากเด็ก ๆ เหล่านั้น สามารถช่วยงานในไร่ในสวนได้ [1] ฉะนั้น เด็กผู้หญิงที่มีการศึกษาดีจึงมีโอกาสที่จะต้องแต่งงานในวัยเยาว์น้อยกว่า เพราะพวกเขาจะมีความสามารถและโอกาสในการพัฒนาชีวิตของตนและครอบครัวให้มีคุณภาพและเจริญรุ่งเรืองต่อไป [2]

ปัจจุบันมูลนิธิสร้างสรรค์ชีวิตได้มอบทุนการศึกษา คำปรึกษา และทรัพยากรที่จำเป็นแก่นักเรียนเป็นจำนวนถึง 34 คนแล้วในภาคเหนือของประเทศไทย

How is this making a difference?

[1] Thailand MICS, Monitoring the situation of children and women 2015-2016

[2] What works in girls' education. Evidence for the world's best investment. Gene B. Sperling and Rebecca Winthrop

9.png
To educate girls is to reduce poverty
—Kofi Annan
โครงการอ่านเขียนสำหรับผู้ใหญ่เพื่อแม่ชาวเขา

ผู้หญิงชาวเขา เช่น ชาวปวากาเญอ ชาวม้ง และชาวลีซู มักเติบโตมากับความท้าทายจากการไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ โดยส่วนใหญ่มักใช้เพียงภาษาพูดในภาษาท้องถิ่นของตนเท่านั้น ทั้งนี้ ความสามารถทางภาษาไทยที่จำกัดจะส่งผลให้เขาเหล่านี้ไม่สามารถผ่านขั้นตอนการขอและได้รับสัญชาติไทยได้เลย [3]

การอ่านออกเขียนได้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ อีกทั้งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการสร้างความเท่าเทียมทางเพศ แต่อย่างไรก็ตาม UNESCO ระบุว่าในโลกนี้ยังมีคนที่อายุมากกว่า 15 ปีที่ไม่สามารถอ่านเขียนหนังสือได้ถึง 781 ล้านคนและมากกว่า 63% ของจำนวนดังกล่าวเป็นผู้หญิง

"ผู้หญิงแต่ละคนที่สามารถอ่านออกเขียนได้ถือเป็นชัยชนะต่อความยากจน" - นายพลบันคีมุน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ

ในปี 2564 มูลนิธิสร้างสรรค์ชีวิตจะเริ่มจัดการศึกษาแก่ผู้หญิงที่เน้นเรื่องของการอ่านและเขียนภาษาไทย

How will this make a difference?

Thai literacy will significantly expand women's opportunities for economic security and advancement. It will build their confidence, status, and access to information. Thai literacy will also help women better prepare their children for school, engage with their teachers, and supplement their education with at-home support.

[3] NGO CEDAW Shadow Report 2017. Indigenous women's access to social services, article 9: Nationality

14.png
bottom of page